วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การเขียนอ้างอิง จากเว็ป หนังสือ และวารสาร



เชื่อว่าทุกคนที่อ่านเอนทรี่ต้องเคยเขียนรายงานกันแน่ ๆ
ซึ่งส่วนสำคัญอีกส่วนนึงของรายงานก็คือ ข้อมูลอ้างอิง (บรรณานุกรม)
ส่วนใหญ่ก็จะใส่ชื่อเว็บไปเลยซะดื้อ ๆ
จริง ๆ แล้วการอ้างอิงเว็บที่ถูกต้องการมีแบบฟอร์มอยู่
ไปดูกันเลย
การอ้างอิงเอกสาร
เท่าที่ผมค้นหาข้อมูลมาจะมีการอ้างอิงทั้งแบบไทย กับแบบสากล (อังกฤษ) เพราะฉะนั้นก็ลองเลือก ๆ ลองไปใช้กันเองนะครับ

แบบไทย (อันนี้เอามาจากหนังสือเรียนน่ะ)
ผู้แต่ง. ปีที่สืบค้น. ชื่อเรื่อง. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : ชื่อ URL. วัน เดือน ปี ที่สืบค้น.
EX.
พัชรา แสงศรี. ๒๕๔๗. จังหวัดเชียงใหม่. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://travel.mweb.co.th/north/Chiangmai/index.html. ๑๒ มกราคม ๒๕๔๗

แบบสากล
ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อเรื่อง. ปีที่พิมพ์;.[screens (หน้า)]
[cited (ปี เดือน(ย่อ) วันที่เข้าถึง)] Available from(เข้าถึงได้ที่) : URL : ชื่อ URL.
EX.
Cancer-Pain.org [homepage on the Internet]. New York: Association of Cancer Online Resources, Inc.; c2000-01
[cited 2008 Oct 3]. Available from: http://www.cancer-pain.org/
  • ชื่อผู้แต่ง  คือชื่อผู้เขียนเรื่องนั้น  เรียงตามลำดับตัวอักษร
  • ชื่อเรื่อง   คือชื่อเรื่อง หัวข้อที่แสดง แบบไทยทำตัวเอียงด้วยนะ
  • แหล่งที่มา URL   คือ URL หรือ IP ADDRESS ทั้งหมดในช่อง ADDRESS (เว็บไซต์นั้นแหละ) จะยกมาเฉพาะชื่อ web site ไม่ได้ แบบไทย อย่าลืมใส่ (ออนไลน์).ด้วย
  • ปีที่พิมพ์    ต้องกำหนดปีที่พิมพ์ หรือปีที่ข้อมูล ข้อความ ใน webpage นั้น  update   ซึ่งหาได้จาก Home Page ของ website นั้น   ปีที่พิมพ์นี้ (เช่น วันที่เขียนเอนทรี่นี้) ไม่ใช่ปีที่เราพบข้อความทาง Internet
  • วันเืดือนปีที่สืบค้น  เพราะว่าบางทีมันค่องข้างละล่มบ่อย ให้ใส่วันที่เวลาค้นเจอเว็บด้วย เพื่อว่าจะได้มีเวลาเป็นหลักฐาน เจอเมื่อไหร่

หลัก ๆ ก็มีเท่านี้ละครับ บางฟอร์มหลาย ๆ ที่อาจจะไม่ตรงตามนี้เป๊ะ แต่ขอให้ข้อมูลตามด้านบนมีครบถ้วนสมบูรณ์ก็พอครับ 

รูปแบบการเขียนรายการอ้างอิงในเนื้อหาบทความ

     กรณีที่มีการอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (citations in text) เพื่อระบุแหล่งที่มาของข้อมูล กำหนดให้ผู้เขียนบทความเขียน การอ้างอิงแบบนาม-ปี (name-year or author-date style) และมีการรวบรวมรายการเอกสารที่ใช้อ้างอิงทั้งหมดไว้ตอนท้ายเอกสาร เรียกว่า เอกสารอ้างอิง (references) หรือ บรรณานุกรม (bibliography) ซึ่งมีแนวการเขียนโดยย่อดังนี้
     การอ้างอิงแบบนาม-ปี เป็นการอ้างอิงโดยระบุชื่อผู้แต่ง และปีพิมพ์ของเอกสาร ไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังข้อความที่ต้องการอ้าง เพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความนั้น และอาจระบุ เลขหน้าของเอกสารที่อ้าง ด้วยก็ได้หากต้องการ ผู้อ่านสามารถตรวจสอบข้อมูลทางบรรณานุกรมของเอกสารที่ใช้อ้างอิงได้จากรายการ เอกสารอ้างอิง (references) หรือ บรรณานุกรม (bibliography) ในตอนท้ายเอกสาร

รูปแบบการเขียนรายการเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม

     เอกสารอ้างอิง หรือบรรณานุกรมเป็นการอ้างอิงส่วนท้ายบทความหรือท้ายเล่ม โดยผู้เขียนบทความจะต้องรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ได้ใช้อ้างอิงในผลงานของตน เรียกว่า รายการเอกสารอ้างอิง (References List) หรือ บรรณานุกรม(Bibliography) ซึ่งมีข้อแตกต่างกันคือ



1. เอกสารอ้างอิง เป็นการรวบรวมเฉพาะรายการเอกสารที่ถูกอ้างไว้ในส่วนเนื้อเรื่องเท่านั้น ดังนั้นจำนวนรายการเอกสารที่อ้างอิงในส่วนท้ายเรื่องจึงต้องมีจำนวนเท่ากันกับที่ถูกอ้างอิงไว้ในส่วนเนื้อเรื่อง
2. บรรณานุกรม เป็นการรวบรวมรายการเอกสารที่ใช้อ้างอิงในส่วนเนื้อหาทั้งหมด รวมทั้งรายการเอกสารอื่นที่มิได้อ้างไว้ในส่วนเนื้อเรื่องมารวบรวมไว้ก็ได้ หากเห็นว่าเอกสารนั้นมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขียนและจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน ดังนั้นจำนวนรายการเอกสารที่อ้างอิงในส่วนท้ายเรื่องจึงอาจมีมากกว่าจำนวนที่ถูกอ้างอิงไว้ในส่วนเนื้อเรื่อง
     สำหรับบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารสำนักวิทยบริการ กองบรรณาธิการกำหนดให้ผู้เขียนรวบรวมเอกสารอ้างอิงเฉพาะรายการเอกสารที่ถูกอ้างไว้ในส่วนเนื้อเรื่องเท่านั้น ภายใต้หัวข้อ "เอกสารอ้างอิง" สำหรับบทความภาษาไทย และ  "References" สำหรับบทความภาษาอังกฤษ หลักเกณฑ์การเขียนเอกสารอ้างอิงกำหนดให้ผู้เขียนใช้แบบ APA citation style (American Psychological Association Citation Style)

ตัวอย่างการเขียนรายการเอกสารอ้างอิงแบบ APA citation style

     เครื่องหมาย / หมายถึงเว้นระยะ 1 ตัวอักษร หากเป็นผู้แต่งชาวต่างประเทศ ใช้ชื่อสกุล ตามด้วยอักษรย่อชื่อต้นและชื่อกลาง โดยใช้เครื่องหมายตามตัวอย่าง สำหรับชื่อหนังสือภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรกของชื่อเรื่องและ ชื่อเรื่องย่อย ยกเว้นกรณีชื่อเฉพาะ

1. หนังสือ ผู้แต่ง 1 คน

     1.1 รูปแบบ

          ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ/(ฉบับพิมพ์).//สถานที่พิมพ์:/ผู้จัดพิมพ์.
     1.2 ตัวอย่าง

          บูรชัย ศิริมหาสาคร.  (2554).  มุมที่คนไม่มอง: มุขบริหารสู่การเป็นผู้นำ.  กรุงเทพมหานคร: แสงดาว.

          Rowley, J. E.  (1993).  Computer for libraries (3rd ed.).  London: Library Association Publishing.    

2. หนังสือ ผู้แต่งหลายคน

     2.1 รูปแบบ

          ชื่อผู้แต่งคนที่ 1,/ผู้แต่งคนที่ 2,/&/ผู้แต่งคนที่ 3.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ/(ฉบับพิมพ์).//สถานที่พิมพ์:/ผู้จัดพิมพ์.
     2.2 ตัวอย่าง

          ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ, และธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ.  (2550).  การจัดการและพฤติกรรมองค์การ.

                     กรุงเทพมหานคร: เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ.

          Gomez-Mejia, L. R., Balkin, D. B., & Cardy, R. L.  (2007).  Management (3rd ed.).  Boston: McGrawHill.

3. หนังสือที่มีบรรณาธิการรับผิดชอบ

     3.1 รูปแบบที่ 1: ระบุชื่อบรรณาธิการในส่วนของผู้แต่ง (ต้องการอ้างอิงทั้งเล่ม หรือ ผู้แต่งและบรรณาธิการเป็นคนเดียวกัน)

          ชื่อบรรณาธิการ,/(บรรณาธิการ).//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ/(ฉบับพิมพ์).//สถานที่พิมพ์:/ผู้จัดพิมพ์.
     ตัวอย่าง

          วิฑูรย์ สิมะโชคดี, และกาญจนา หงษ์ทอง, (บรรณาธิการ).  (2550).  TQM คู่มือพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ.

                    กรุงเทพมหานคร: เนชั่นบุ๊คส์ อินเตอร์เนชั่นแนล. 
     3.2 รูปแบบที่ 2: ระบุชื่อผู้แต่งบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือรวมเรื่องที่มีบรรณาธิการรับผิดชอบ

          ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ใน/ชื่อบรรณาธิการ/(บรรณาธิการ),/ชื่อหนังสือ/(เลขหน้าที่ปรากฏบทความ)/(ฉบับพิมพ์).//สถานที่พิมพ์:/ผู้จัดพิมพ์.
     ตัวอย่าง

          Hartley, J. T., Harker J. O., & Walsh, D. A.  (1980).  Contemporary issues and new directions in

                    adult development of learning and memory.  In L. W. Poon (Ed.), Aging in the 1980s:

                    Psychological issues
 (pp. 239-252).  Washington, DC: American Psychological Association.
     3.3 รูปแบบที่ 3: ระบุชื่อผู้เขียนบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือรวมเรื่องที่ไม่ระบุบรรณาธิการรับผิดชอบ

          ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ใน/ชื่อหนังสือ/(เลขหน้าที่ปรากฏบทความ)/(ฉบับพิมพ์).//สถานที่พิมพ์:/ผู้จัดพิมพ์.
     ตัวอย่าง

          
ศิริพร สุวรรณะ.  (2529).  การศึกษาความต้องการสารนิเทศในสาขาสังคมศาสตร์.  ใน สารนิเทศกับ

                    การบริหารและการพัฒนา
: เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง สารนิเทศทางสังคมศาสตร์:

                    ความต้องการและหล่งสารนิเทศ (หน้า 7-17).  กรุงเทพมหานคร: สำนักบรรณสารการพัฒนา

                    สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

4. บทความวารสาร

     4.1 รูปแบบที่ 1: บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารที่เรียงลำดับเลขหน้าต่อเนื่องกันทั้งรอบปีที่พิมพ์ หรือ ปีที่ (volume) ของวารสาร (continuous pagination throughout volume) สำหรับชื่อวารสารให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เริ่มต้นทุกคำยกเว้นคำเชื่อม

          ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,/ปีที่,/เลขระบุหน้าที่ปรากฏบทความ. สืบค้นจาก (ระบุ URL กรณีใช้วารสารฉบับออนไลน์)

          Arakji, R. Y., & Lang, K. R.  (2008).  Avatar business value analysis: A method for the evaluation of

                    business value creation in virtual commerce.  Journal of Electronic Commerce Research, 9,

                    207-218.  Retrieved from http://www.csulb.edu/journals/jecr
     4.2 รูปแบบที่ 2: บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารที่เริ่มลำดับเลขหน้าใหม่ในแต่ละฉบับ (issue) ของวารสาร (paginated by issue)

ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,/ปีที่(ลำดับที่),/เลขระบุหน้าที่ปรากฏบทความ. สืบค้นจาก (ระบุ URL กรณีใช้วารสารฉบับออนไลน์)

          อุมาพรรณ ทรงวิวัฒน์.  (2556).  คุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.

                    วารสารวิทยบริการ, 24(2), 90-102.

          Williams, J.  (2008).  The victims of crime.  Sociology Review, 17(4), 30-32.

                    Retrieved from http://www.philipallan.co.uk/sociologyreview/index.htm
     สำหรับการเขียนรายการอ้างอิงของบทความวารสารที่มีผู้แต่งไม่เกิน 7 คน ให้ลงชื่อของผู้แต่งครบทุกคน หากบทความมีผู้แต่งร่วมกันเกิน 7 คน ให้ลงชื่อของผู้แต่งคนที่ 1-6 ตามด้วยเครื่องหมาย ... และระบุชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย ดังนี้
          Fuchs, D., Fuchs, L. S., Al Otaiba, S., Thompson, A., Yen, L., McMaster, K. N., . . . Yang, N. J.  (2001).

                    K-PALS: Helping kindergartners with reading readiness: Teachers and researchers in

                    partnerships.  Teaching Exceptional Children, 33(4), 76-80.  Retrieved from

                    http://www.cec.sped.org/content/navigationmenu/publications2/teachingexc...

5. บทความจากหนังสือพิมพ์

     5.1 หนังสือพิมพ์ฉบับพิมพ์: รูปแบบ

          ผู้แต่ง.//(วัน เดือน ปีที่เผยแพร่).//ชื่อบทความ.//ชื่อหนังสือพิมพ์,/หน้าที่ปรากฏบทความ.
     ตัวอย่าง

          ซูม.  (21 เมษายน 2556).  เมืองหนังสือโลก: ทำไมเขาเลือกทม.?.  ไทยรัฐ, หน้า 5.

          Von Drehle, D.  (2000, January 15).  Russians unveil new security plan.

                    The Washington Post, pp. A1, A21.
     5.2 หนังสือพิมพ์ฉบับอิเล็กทรอนิกส์: รูปแบบ

          ผู้แต่ง.//(วัน เดือน ปีที่เผยแพร่).//ชื่อบทความ.//ชื่อหนังสือพิมพ์.//สืบค้นจาก (ระบุ URL)
     ตัวอย่าง

          ครม.อนุมัติให้ รฟม.กู้เงินในประเทศสร้างรถไฟฟ้า 3 สายแทนกู้จากไจก้า.  (1 เมษายน 2557).  ประชาชาติธุรกิจ.

                    สืบค้นจาก http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1396341620

          ธวัชชัย วิสุทธิมรรค.  (1 เมษายน 2557).  ปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปประเทศไทยแค่เอื้อมหรืออีกไกล?.  ไทยโพสต์.

                    สืบค้นจาก http://www.thaipost.net/news/category/66

          Heinlein, G.  (2007, July 24).  Michigan smoking ban takes big step. Detroit News.

                    Retrieved from http://www.detnews.com

6.  สารสนเทศที่สืบค้นจากเว็บไซต์ต่างๆ

     รูปแบบ (ชื่อเอกสารหรือสารสนเทศใช้ตัวอักษรธรรมดา ไม่เป็นตัวเอน)

          ผู้แต่ง.//(ปีที่เผยแพร่ หรือ วัน เดือน ปีที่เผยแพร่ หากมีข้อมูลครบ กรณีไม่ปรากฏ ให้ใช้ n.d. หรือ ม.ป.ป.).//ชื่อเรื่องของเอกสารหรือสารสนเทศ.//สืบค้นจาก (ระบุ URL)
     ตัวอย่าง

          นลิน ญานศิริ, สรจักร เกษมสุวรรณ, และเปี่ยมศักดิ์  เมนะเศวต.  (2557).  แหล่งที่มาของมลพิษทางทะเลในอ่าวไทย.

                    สืบค้นจาก http://www.healthcarethai.com/แหล่งที่มาของมลพิษทางทะเลในอ่าวไทย

          Health Central Network.  (2009).  Heart attack symptoms and warning signs.  Retrieved from

                    http://www.healthcentral.com/heart-disease/patient-guide-44510-6.html

          Angeli, E., Wagner, J., Lawrick, E., Moore, K., Anderson, M., Soderland, L., & Brizee, A.  (2010, May 5).

                    General format.  Retrieved from http://owl.english.purdue.edu/owl/resource/560/01/

7.  สื่อวีดิทัศน์จาก YouTube หรือจากเว็บไซต์ต่างๆ (Note that titles are not italicized)

     รูปแบบ (ชื่อวีดิทัศน์ใช้ตัวอักษรธรรมดา ไม่เป็นตัวเอน)

ชื่อผู้แต่ง.//(วัน เดือน ปีที่เผยแพร่).//ชื่อเรื่อง/[Video file].//สืบค้นจาก (ระบุ URL)
     ตัวอย่าง

          ธนิต บุญเจริญ.  (1 ตุลาคม 2554).  พลังงานทดแทนเพื่อคนไทยทุกคน [Video file].

                    สืบค้นจาก http://www.youtube.com/watch?v=EidVodOV7Mc

          Goyen, A.  (2007, February 22).  Downtown Marquette dog sled races [Video file].

                    Retrieved from http://www.youtube.com/watch?v=gW3CNCGGgTY

          University of Chicago. (2007, December 12). European cartographers and the Ottoman world,

                    1500--1750 [Video file].  Retrieved from http://www.youtube.com/watch?v=Xax5d4IKqrQ


                                                       การเขียนอ้างอิง จากวารสาร

โกยคะแนนพิชิตใจกรรมการ!! เทคนิคการเขียน Essay อย่างง่ายและรวดเร็ว
       
         ไม่ใช่เรื่องง่าย! สำหรับการเขียน Essay หรือการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษในฐานะนักเรียนไทยแม้แต่นักเรียนต่างชาติที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ คงส่ายหน้าปวดหัวอยู่เหมือนกัน เพราะการเขียน Essay ให้ถูกต้อง ตรงประเด็น และทำให้คนอ่านเข้าใจในบริบทที่เราต้องการสื่อสารนั้นไม่ใช่เรื่องหมูๆ จึงจำเป็นต้องใช้การสั่งสมด้วยการอ่านบทความ หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ และฝึกฝนการเขียนของเราให้สม่ำเสมอ วันนี้ Life on Campus จึงนำเทคนิคการเขียนเรียงความเพื่อเป็นเคล็ดลับดีๆ ให้กับน้องๆ ที่ต้องการฝึกฝนงานเขียนให้ถูกใจกรรมการโกยคะแนนการเขียนได้สบายๆ..
      
       โครงสร้างของการเขียน Essay ประกอบด้วย 3 ส่วน
      
       Introduction : ย่อหน้าแรกของ Essay ที่ใช้ในการเปิดเรื่อง หรือเป็นส่วนแรกของเรียงความที่จะบอกให้ผู้อ่านทราบเบื้องต้นว่าเรียงความนี้กล่าวถึงเรื่องอะไร มักจะไม่ใส่รายละเอียดมากนัก Introduction ที่ดีควรจะดึงดูดใจให้ผู้อ่านเกิดความสนใจและทำให้เกิดความรู้สึกอยากรู้ว่าเนื้อหาต่อไปนั้นจะเป็นยังไง เรียกง่ายๆ ว่าทำให้ผู้อ่านอยากอ่าน Essay ของเราจนจบ สำหรับภายใน Introduction จะมี Thesis Statement ซึ่งเป็นประโยคสำคัญที่บอกให้ผู้อ่านทราบว่า Essay เรื่องนี้ต้องการจะกล่าวถึงอะไร
       Body : ส่วนของเนื้อความ เป็นส่วนที่รวมเนื้อหา ใจความสำคัญของเรียงความไว้ โดยจะเป็นส่วนที่ยาวที่สุดของเรียงความ โดยตัวเนื้อความสามารถเขียนได้หลายย่อหน้า ขึ้นอยู่กับข้อมูลเพิ่มเติมที่เราต้องการขยายความหรือยกตัวอย่างให้ผู้อ่านเข้าใจ
       Conclusion : บทสรุป เป็นการทบทวนและย้ำให้ผู้อ่านทราบว่าผู้เขียนต้องการสื่อสารอะไรให้ผู้อ่าน หรือเป็นการสรุปสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดให้ผู้อ่านทราบ โดยเนื้อหาเน้นรวบรวมใจความสำคัญจาก Introduction และ Body ที่ได้กล่าวมาแล้ว
โกยคะแนนพิชิตใจกรรมการ!! เทคนิคการเขียน Essay อย่างง่ายและรวดเร็ว
       
        สำหรับส่วนของเนื้อความหรือ Body จะมีหน้าที่หลักๆ คือการให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้อ่าน เพื่อให้เกิดความเข้าใจหรือคล้อยตามกับเรียงความของเรามากขึ้น โดยจะประกอบด้วย 3 ส่วนย่อยคือ Topic Sentence, Supporting sentences และ Concluding sentences
      
       - Topic Sentence อยู่ส่วนแรกของของแต่ละ Body ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านทราบว่าเนื้อความย่อหน้านี้จะกล่าวถึงคือเรื่องอะไร
       - Supporting sentences ทำหน้าที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือขยายความจาก Topic sentence รวมถึงการยกตัวอย่าง เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้น
       - Concluding sentences เป็นการสรุปย้ำใจความสำคัญของย่อหน้าให้ผู้อ่านทราบอีกครั้ง
      
        สำหรับเทคนิคง่ายๆ ในการเขียน Topic sentence ที่ดีคือ ควรจะเขียนให้เป็น Simple sentence หรือประโยคความเดียว เพราะจะช่วยให้ประโยคมีความชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีข้อควรระวังในการเขียน Essay ที่ Life on Campus นำมาให้น้องๆ ได้อ่านกันเป็นข้อมูลในการเขียนเพื่อจะได้ไม่เกิดข้อผิดพลาดทำให้เราโดนหักคะแนนได้ง่ายๆ นั้นเอง..
โกยคะแนนพิชิตใจกรรมการ!! เทคนิคการเขียน Essay อย่างง่ายและรวดเร็ว
       
       เขียนบทนำให้ดึงดูด อย่าสรุปทั้งหมดไว้ตั้งแต่เริ่ม!
      
        ในการอ่าน Essay คณะกรรมการมักจะใช้เวลาเพียงแค่ 1-2 นาทีเท่านั้น ดังนั้นบทนำของที่น้องๆ เขียนควรจะดึงดูดความสนใจของผู้อ่านตั้งแต่เริ่มต้น และไม่ใช่เรื่องแปลกหากจะแก้บทนำใหม่หมดภายหลังจากที่เราเริ่มเขียนเนื้อหาของ Essay ที่สำคัญคืออย่าเขียนสรุปเนื้อหาทั้งหมดในบทนำ เพราะเท่ากับเป็นการเฉลยเนื้อหาไว้ตั้งแต่เริ่ม ทำให้ผู้อ่านไม่อยากอ่านเนื้อหาต่อๆ ไป หรือไม่มีความอยากรู้ที่จะติดตามตอนต่อไปนั้นเอง
      
        รวมไปถึงคณะกรรมการเองก็เช่นกัน หากการเขียนบทนำของน้องๆ คือการสรุปทั้งหมด คณะกรรมการก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องอ่านเนื้อเรื่องที่เหลือของ Essay จึงควรสร้างความแปลกใจหรือสร้างความรู้สึกอยากติดตามชวนให้อ่านไว้ในบทนำ ด้วยการตั้งคำถามหรือประเด็นให้คณะกรรมการหรือผู้อ่านสนใจอ่าน Essay ของเราต่อไป รวมถึงทำให้ผู้อ่านรู้สึกคล้อยตามอารมณ์ความรู้สึกที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อสารด้วย
      
       
       เช็คหลักไวยากรณ์ให้ดีก่อนส่ง!
      
        เชื่อเถอะว่าชาวเอเชียส่วนใหญ่หรือแม้กระทั่งเด็กไทยมีความแม่นในการจำหลักไวยากรณ์อยู่แล้ว เรียกว่าโครงสร้างเป๊ะ ถาม Tenses ไหนตอบได้หมด หรืออาจเก่งแกรมม่ามากกว่าเจ้าของภาษาเสียอีก ดังนั้นการทำข้อสอบการเขียนสิ่งสำคัญหลักๆ คือการเขียนให้ถูกหลักไวยากรณ์ ผู้เขียนคนใดสามารถจดจำโครงสร้างและเข้าใจการใช้ได้ถูกต้องย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง
       
        Life on Campus จึงมีเทคนิคการตรวจสอบแกรมม่าที่เราเขียนใน Essay เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด นั้นคือการอ่านย้อนหลังจากประโยคสุดท้ายไล่ขึ้นไปถึงประโยคแรก เพื่อให้เราได้ตรวจสอบให้ดีทีละส่วน ทีละคำ ทีละประโยค เพื่อหาจุดผิดพลาดนั้นเอง เพราะผู้เขียนส่วนใหญ่หากอ่านประโยคแรกไล่ลงมาปกติแล้วมักคิดว่างานเขียนของเรายอดเยี่ยม แต่หากลองปรับ
โกยคะแนนพิชิตใจกรรมการ!! เทคนิคการเขียน Essay อย่างง่ายและรวดเร็ว
       
       ใช้ศัพท์ยาก..ไม่เข้ากับเนื้อหา
      
        สำหรับใครที่ชอบใช้งัดคำศัพท์ยากๆ งัดคำศัพท์สวยๆ อลังการมาใช้ในงานเขียน เพราะคิดว่ายิ่งใช้คำศัพท์ยากยิ่งแสดงให้เห็นถึงความเก่งและรู้สึกเหนือกว่าคนอื่นๆ แต่น้องๆ รู้หรือไม่ว่าการใช้คำศัพท์เหล่านั้นในการเขียนเรียงความ หรือใช้ในการเขียนโปรยบทนำให้ดูสวยหรู มันไม่ได้ทำให้เราได้เปรียบเสมอไป เพราะหากน้องๆ ไม่มั่นใจว่าความหมายคืออะไร หรือไม่มั่นใจว่าจะเรียบเรียงอย่างไรในการเขียนประโยค อาจทำให้เนื้อหาที่จะสื่อสารกับผู้อ่านนั้นผิดเพี้ยนและอาจทำให้โดนหักคะแนนได้
      
        สำหรับเทคนิคการฝึกเขียน น้องๆ สามารถหัดเขียนด้วยตัวเองด้วยการตั้งหัวข้อที่อยากเขียนขึ้นมาสักหนึ่งหัวข้อ หรืออาจให้อาจารย์ที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยมอบหัวข้อให้ลองฝึกเขียน เมื่อน้องๆ ลองเขียน Essay เสร็จนำไปให้อาจารย์ตรวจงานเขียนดู เพื่อจะได้คำแนะนำในการเขียน หรือหากพบจุดผิดพลาดใดๆ อาจารย์ก็สามารถช่วยเหลือและให้คำปรึกษากับเราได้ ถือเป็นการเพิ่มทักษะการเขียนของเราไปในตัวด้วย
      
       ลืมใส่แหล่งที่มา-แหล่งอ้างอิง
      
        ความจริงแล้วการเขียนเรียงความทางวิชาการไม่เหมือนกับการเขียนบล็อกหรือโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ค หากน้องๆ อ้างอิงถึงแต่สิ่งที่เพื่อนพูด หรือเขียนคำคมขึ้นมาลอยๆ อาจลดคุณค่าและความน่าเชื่อถือของเรียงความที่เขียนไปเลยก็ว่าได้ ยิ่งไปกว่านั้นการคัดลอกผลงานโดยไม่อ้างอิงถึงแหล่งที่มาให้ถูกต้องเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ
        ดังนั้นน้องๆ ต้องเรียนรู้ถึงวิธีการอ้างอิงแหล่งที่มาให้ถูกต้อง เป็นทักษะที่ต้องมีและต้องทำ ซึ่งสามารถปรึกษาและขอคำแนะนำจากอาจารย์ที่สอนภาษาอังกฤษ เรียนรู้จากเพื่อนร่วมชั้น หรือไม่ก็อ่านเรียงความทางวิชาการเยอะๆ ก็สามารถช่วยเพิ่มพูนทักษะนี้ได้เช่นกัน
โกยคะแนนพิชิตใจกรรมการ!! เทคนิคการเขียน Essay อย่างง่ายและรวดเร็ว
       
        อ้างอิงข้อมูลจาก
       - http://www.usnews.com/education/
       - http://www.ieltsbuddy.com/ielts-essay.html
       - http://grammar.yourdictionary.com/writing/how-to-write-an-essay.html
       - http://www.torcheducation.com/?p=1567
       - http://www.englishparks.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=146:-essay&catid=19:english-tip&Itemid=51






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น