วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2558

การเขียนอ้างอิง จากเว็ป หนังสือ และวารสาร



เชื่อว่าทุกคนที่อ่านเอนทรี่ต้องเคยเขียนรายงานกันแน่ ๆ
ซึ่งส่วนสำคัญอีกส่วนนึงของรายงานก็คือ ข้อมูลอ้างอิง (บรรณานุกรม)
ส่วนใหญ่ก็จะใส่ชื่อเว็บไปเลยซะดื้อ ๆ
จริง ๆ แล้วการอ้างอิงเว็บที่ถูกต้องการมีแบบฟอร์มอยู่
ไปดูกันเลย
การอ้างอิงเอกสาร
เท่าที่ผมค้นหาข้อมูลมาจะมีการอ้างอิงทั้งแบบไทย กับแบบสากล (อังกฤษ) เพราะฉะนั้นก็ลองเลือก ๆ ลองไปใช้กันเองนะครับ

แบบไทย (อันนี้เอามาจากหนังสือเรียนน่ะ)
ผู้แต่ง. ปีที่สืบค้น. ชื่อเรื่อง. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : ชื่อ URL. วัน เดือน ปี ที่สืบค้น.
EX.
พัชรา แสงศรี. ๒๕๔๗. จังหวัดเชียงใหม่. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://travel.mweb.co.th/north/Chiangmai/index.html. ๑๒ มกราคม ๒๕๔๗

แบบสากล
ชื่อผู้นิพนธ์. ชื่อเรื่อง. ปีที่พิมพ์;.[screens (หน้า)]
[cited (ปี เดือน(ย่อ) วันที่เข้าถึง)] Available from(เข้าถึงได้ที่) : URL : ชื่อ URL.
EX.
Cancer-Pain.org [homepage on the Internet]. New York: Association of Cancer Online Resources, Inc.; c2000-01
[cited 2008 Oct 3]. Available from: http://www.cancer-pain.org/
  • ชื่อผู้แต่ง  คือชื่อผู้เขียนเรื่องนั้น  เรียงตามลำดับตัวอักษร
  • ชื่อเรื่อง   คือชื่อเรื่อง หัวข้อที่แสดง แบบไทยทำตัวเอียงด้วยนะ
  • แหล่งที่มา URL   คือ URL หรือ IP ADDRESS ทั้งหมดในช่อง ADDRESS (เว็บไซต์นั้นแหละ) จะยกมาเฉพาะชื่อ web site ไม่ได้ แบบไทย อย่าลืมใส่ (ออนไลน์).ด้วย
  • ปีที่พิมพ์    ต้องกำหนดปีที่พิมพ์ หรือปีที่ข้อมูล ข้อความ ใน webpage นั้น  update   ซึ่งหาได้จาก Home Page ของ website นั้น   ปีที่พิมพ์นี้ (เช่น วันที่เขียนเอนทรี่นี้) ไม่ใช่ปีที่เราพบข้อความทาง Internet
  • วันเืดือนปีที่สืบค้น  เพราะว่าบางทีมันค่องข้างละล่มบ่อย ให้ใส่วันที่เวลาค้นเจอเว็บด้วย เพื่อว่าจะได้มีเวลาเป็นหลักฐาน เจอเมื่อไหร่

หลัก ๆ ก็มีเท่านี้ละครับ บางฟอร์มหลาย ๆ ที่อาจจะไม่ตรงตามนี้เป๊ะ แต่ขอให้ข้อมูลตามด้านบนมีครบถ้วนสมบูรณ์ก็พอครับ 

รูปแบบการเขียนรายการอ้างอิงในเนื้อหาบทความ

     กรณีที่มีการอ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่อง (citations in text) เพื่อระบุแหล่งที่มาของข้อมูล กำหนดให้ผู้เขียนบทความเขียน การอ้างอิงแบบนาม-ปี (name-year or author-date style) และมีการรวบรวมรายการเอกสารที่ใช้อ้างอิงทั้งหมดไว้ตอนท้ายเอกสาร เรียกว่า เอกสารอ้างอิง (references) หรือ บรรณานุกรม (bibliography) ซึ่งมีแนวการเขียนโดยย่อดังนี้
     การอ้างอิงแบบนาม-ปี เป็นการอ้างอิงโดยระบุชื่อผู้แต่ง และปีพิมพ์ของเอกสาร ไว้ข้างหน้าหรือข้างหลังข้อความที่ต้องการอ้าง เพื่อบอกแหล่งที่มาของข้อความนั้น และอาจระบุ เลขหน้าของเอกสารที่อ้าง ด้วยก็ได้หากต้องการ ผู้อ่านสามารถตรวจสอบข้อมูลทางบรรณานุกรมของเอกสารที่ใช้อ้างอิงได้จากรายการ เอกสารอ้างอิง (references) หรือ บรรณานุกรม (bibliography) ในตอนท้ายเอกสาร

รูปแบบการเขียนรายการเอกสารอ้างอิงหรือบรรณานุกรม

     เอกสารอ้างอิง หรือบรรณานุกรมเป็นการอ้างอิงส่วนท้ายบทความหรือท้ายเล่ม โดยผู้เขียนบทความจะต้องรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ได้ใช้อ้างอิงในผลงานของตน เรียกว่า รายการเอกสารอ้างอิง (References List) หรือ บรรณานุกรม(Bibliography) ซึ่งมีข้อแตกต่างกันคือ



1. เอกสารอ้างอิง เป็นการรวบรวมเฉพาะรายการเอกสารที่ถูกอ้างไว้ในส่วนเนื้อเรื่องเท่านั้น ดังนั้นจำนวนรายการเอกสารที่อ้างอิงในส่วนท้ายเรื่องจึงต้องมีจำนวนเท่ากันกับที่ถูกอ้างอิงไว้ในส่วนเนื้อเรื่อง
2. บรรณานุกรม เป็นการรวบรวมรายการเอกสารที่ใช้อ้างอิงในส่วนเนื้อหาทั้งหมด รวมทั้งรายการเอกสารอื่นที่มิได้อ้างไว้ในส่วนเนื้อเรื่องมารวบรวมไว้ก็ได้ หากเห็นว่าเอกสารนั้นมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขียนและจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน ดังนั้นจำนวนรายการเอกสารที่อ้างอิงในส่วนท้ายเรื่องจึงอาจมีมากกว่าจำนวนที่ถูกอ้างอิงไว้ในส่วนเนื้อเรื่อง
     สำหรับบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารสำนักวิทยบริการ กองบรรณาธิการกำหนดให้ผู้เขียนรวบรวมเอกสารอ้างอิงเฉพาะรายการเอกสารที่ถูกอ้างไว้ในส่วนเนื้อเรื่องเท่านั้น ภายใต้หัวข้อ "เอกสารอ้างอิง" สำหรับบทความภาษาไทย และ  "References" สำหรับบทความภาษาอังกฤษ หลักเกณฑ์การเขียนเอกสารอ้างอิงกำหนดให้ผู้เขียนใช้แบบ APA citation style (American Psychological Association Citation Style)

ตัวอย่างการเขียนรายการเอกสารอ้างอิงแบบ APA citation style

     เครื่องหมาย / หมายถึงเว้นระยะ 1 ตัวอักษร หากเป็นผู้แต่งชาวต่างประเทศ ใช้ชื่อสกุล ตามด้วยอักษรย่อชื่อต้นและชื่อกลาง โดยใช้เครื่องหมายตามตัวอย่าง สำหรับชื่อหนังสือภาษาอังกฤษให้ใช้ตัวใหญ่เฉพาะอักษรตัวแรกของชื่อเรื่องและ ชื่อเรื่องย่อย ยกเว้นกรณีชื่อเฉพาะ

1. หนังสือ ผู้แต่ง 1 คน

     1.1 รูปแบบ

          ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ/(ฉบับพิมพ์).//สถานที่พิมพ์:/ผู้จัดพิมพ์.
     1.2 ตัวอย่าง

          บูรชัย ศิริมหาสาคร.  (2554).  มุมที่คนไม่มอง: มุขบริหารสู่การเป็นผู้นำ.  กรุงเทพมหานคร: แสงดาว.

          Rowley, J. E.  (1993).  Computer for libraries (3rd ed.).  London: Library Association Publishing.    

2. หนังสือ ผู้แต่งหลายคน

     2.1 รูปแบบ

          ชื่อผู้แต่งคนที่ 1,/ผู้แต่งคนที่ 2,/&/ผู้แต่งคนที่ 3.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ/(ฉบับพิมพ์).//สถานที่พิมพ์:/ผู้จัดพิมพ์.
     2.2 ตัวอย่าง

          ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ, และธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ.  (2550).  การจัดการและพฤติกรรมองค์การ.

                     กรุงเทพมหานคร: เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ.

          Gomez-Mejia, L. R., Balkin, D. B., & Cardy, R. L.  (2007).  Management (3rd ed.).  Boston: McGrawHill.

3. หนังสือที่มีบรรณาธิการรับผิดชอบ

     3.1 รูปแบบที่ 1: ระบุชื่อบรรณาธิการในส่วนของผู้แต่ง (ต้องการอ้างอิงทั้งเล่ม หรือ ผู้แต่งและบรรณาธิการเป็นคนเดียวกัน)

          ชื่อบรรณาธิการ,/(บรรณาธิการ).//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อหนังสือ/(ฉบับพิมพ์).//สถานที่พิมพ์:/ผู้จัดพิมพ์.
     ตัวอย่าง

          วิฑูรย์ สิมะโชคดี, และกาญจนา หงษ์ทอง, (บรรณาธิการ).  (2550).  TQM คู่มือพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ.

                    กรุงเทพมหานคร: เนชั่นบุ๊คส์ อินเตอร์เนชั่นแนล. 
     3.2 รูปแบบที่ 2: ระบุชื่อผู้แต่งบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือรวมเรื่องที่มีบรรณาธิการรับผิดชอบ

          ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ใน/ชื่อบรรณาธิการ/(บรรณาธิการ),/ชื่อหนังสือ/(เลขหน้าที่ปรากฏบทความ)/(ฉบับพิมพ์).//สถานที่พิมพ์:/ผู้จัดพิมพ์.
     ตัวอย่าง

          Hartley, J. T., Harker J. O., & Walsh, D. A.  (1980).  Contemporary issues and new directions in

                    adult development of learning and memory.  In L. W. Poon (Ed.), Aging in the 1980s:

                    Psychological issues
 (pp. 239-252).  Washington, DC: American Psychological Association.
     3.3 รูปแบบที่ 3: ระบุชื่อผู้เขียนบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือรวมเรื่องที่ไม่ระบุบรรณาธิการรับผิดชอบ

          ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ใน/ชื่อหนังสือ/(เลขหน้าที่ปรากฏบทความ)/(ฉบับพิมพ์).//สถานที่พิมพ์:/ผู้จัดพิมพ์.
     ตัวอย่าง

          
ศิริพร สุวรรณะ.  (2529).  การศึกษาความต้องการสารนิเทศในสาขาสังคมศาสตร์.  ใน สารนิเทศกับ

                    การบริหารและการพัฒนา
: เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่อง สารนิเทศทางสังคมศาสตร์:

                    ความต้องการและหล่งสารนิเทศ (หน้า 7-17).  กรุงเทพมหานคร: สำนักบรรณสารการพัฒนา

                    สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

4. บทความวารสาร

     4.1 รูปแบบที่ 1: บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารที่เรียงลำดับเลขหน้าต่อเนื่องกันทั้งรอบปีที่พิมพ์ หรือ ปีที่ (volume) ของวารสาร (continuous pagination throughout volume) สำหรับชื่อวารสารให้ใช้ตัวพิมพ์ใหญ่เริ่มต้นทุกคำยกเว้นคำเชื่อม

          ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,/ปีที่,/เลขระบุหน้าที่ปรากฏบทความ. สืบค้นจาก (ระบุ URL กรณีใช้วารสารฉบับออนไลน์)

          Arakji, R. Y., & Lang, K. R.  (2008).  Avatar business value analysis: A method for the evaluation of

                    business value creation in virtual commerce.  Journal of Electronic Commerce Research, 9,

                    207-218.  Retrieved from http://www.csulb.edu/journals/jecr
     4.2 รูปแบบที่ 2: บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารที่เริ่มลำดับเลขหน้าใหม่ในแต่ละฉบับ (issue) ของวารสาร (paginated by issue)

ชื่อผู้แต่ง.//(ปีที่พิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,/ปีที่(ลำดับที่),/เลขระบุหน้าที่ปรากฏบทความ. สืบค้นจาก (ระบุ URL กรณีใช้วารสารฉบับออนไลน์)

          อุมาพรรณ ทรงวิวัฒน์.  (2556).  คุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย.

                    วารสารวิทยบริการ, 24(2), 90-102.

          Williams, J.  (2008).  The victims of crime.  Sociology Review, 17(4), 30-32.

                    Retrieved from http://www.philipallan.co.uk/sociologyreview/index.htm
     สำหรับการเขียนรายการอ้างอิงของบทความวารสารที่มีผู้แต่งไม่เกิน 7 คน ให้ลงชื่อของผู้แต่งครบทุกคน หากบทความมีผู้แต่งร่วมกันเกิน 7 คน ให้ลงชื่อของผู้แต่งคนที่ 1-6 ตามด้วยเครื่องหมาย ... และระบุชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย ดังนี้
          Fuchs, D., Fuchs, L. S., Al Otaiba, S., Thompson, A., Yen, L., McMaster, K. N., . . . Yang, N. J.  (2001).

                    K-PALS: Helping kindergartners with reading readiness: Teachers and researchers in

                    partnerships.  Teaching Exceptional Children, 33(4), 76-80.  Retrieved from

                    http://www.cec.sped.org/content/navigationmenu/publications2/teachingexc...

5. บทความจากหนังสือพิมพ์

     5.1 หนังสือพิมพ์ฉบับพิมพ์: รูปแบบ

          ผู้แต่ง.//(วัน เดือน ปีที่เผยแพร่).//ชื่อบทความ.//ชื่อหนังสือพิมพ์,/หน้าที่ปรากฏบทความ.
     ตัวอย่าง

          ซูม.  (21 เมษายน 2556).  เมืองหนังสือโลก: ทำไมเขาเลือกทม.?.  ไทยรัฐ, หน้า 5.

          Von Drehle, D.  (2000, January 15).  Russians unveil new security plan.

                    The Washington Post, pp. A1, A21.
     5.2 หนังสือพิมพ์ฉบับอิเล็กทรอนิกส์: รูปแบบ

          ผู้แต่ง.//(วัน เดือน ปีที่เผยแพร่).//ชื่อบทความ.//ชื่อหนังสือพิมพ์.//สืบค้นจาก (ระบุ URL)
     ตัวอย่าง

          ครม.อนุมัติให้ รฟม.กู้เงินในประเทศสร้างรถไฟฟ้า 3 สายแทนกู้จากไจก้า.  (1 เมษายน 2557).  ประชาชาติธุรกิจ.

                    สืบค้นจาก http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1396341620

          ธวัชชัย วิสุทธิมรรค.  (1 เมษายน 2557).  ปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปประเทศไทยแค่เอื้อมหรืออีกไกล?.  ไทยโพสต์.

                    สืบค้นจาก http://www.thaipost.net/news/category/66

          Heinlein, G.  (2007, July 24).  Michigan smoking ban takes big step. Detroit News.

                    Retrieved from http://www.detnews.com

6.  สารสนเทศที่สืบค้นจากเว็บไซต์ต่างๆ

     รูปแบบ (ชื่อเอกสารหรือสารสนเทศใช้ตัวอักษรธรรมดา ไม่เป็นตัวเอน)

          ผู้แต่ง.//(ปีที่เผยแพร่ หรือ วัน เดือน ปีที่เผยแพร่ หากมีข้อมูลครบ กรณีไม่ปรากฏ ให้ใช้ n.d. หรือ ม.ป.ป.).//ชื่อเรื่องของเอกสารหรือสารสนเทศ.//สืบค้นจาก (ระบุ URL)
     ตัวอย่าง

          นลิน ญานศิริ, สรจักร เกษมสุวรรณ, และเปี่ยมศักดิ์  เมนะเศวต.  (2557).  แหล่งที่มาของมลพิษทางทะเลในอ่าวไทย.

                    สืบค้นจาก http://www.healthcarethai.com/แหล่งที่มาของมลพิษทางทะเลในอ่าวไทย

          Health Central Network.  (2009).  Heart attack symptoms and warning signs.  Retrieved from

                    http://www.healthcentral.com/heart-disease/patient-guide-44510-6.html

          Angeli, E., Wagner, J., Lawrick, E., Moore, K., Anderson, M., Soderland, L., & Brizee, A.  (2010, May 5).

                    General format.  Retrieved from http://owl.english.purdue.edu/owl/resource/560/01/

7.  สื่อวีดิทัศน์จาก YouTube หรือจากเว็บไซต์ต่างๆ (Note that titles are not italicized)

     รูปแบบ (ชื่อวีดิทัศน์ใช้ตัวอักษรธรรมดา ไม่เป็นตัวเอน)

ชื่อผู้แต่ง.//(วัน เดือน ปีที่เผยแพร่).//ชื่อเรื่อง/[Video file].//สืบค้นจาก (ระบุ URL)
     ตัวอย่าง

          ธนิต บุญเจริญ.  (1 ตุลาคม 2554).  พลังงานทดแทนเพื่อคนไทยทุกคน [Video file].

                    สืบค้นจาก http://www.youtube.com/watch?v=EidVodOV7Mc

          Goyen, A.  (2007, February 22).  Downtown Marquette dog sled races [Video file].

                    Retrieved from http://www.youtube.com/watch?v=gW3CNCGGgTY

          University of Chicago. (2007, December 12). European cartographers and the Ottoman world,

                    1500--1750 [Video file].  Retrieved from http://www.youtube.com/watch?v=Xax5d4IKqrQ


                                                       การเขียนอ้างอิง จากวารสาร

โกยคะแนนพิชิตใจกรรมการ!! เทคนิคการเขียน Essay อย่างง่ายและรวดเร็ว
       
         ไม่ใช่เรื่องง่าย! สำหรับการเขียน Essay หรือการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษในฐานะนักเรียนไทยแม้แต่นักเรียนต่างชาติที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ คงส่ายหน้าปวดหัวอยู่เหมือนกัน เพราะการเขียน Essay ให้ถูกต้อง ตรงประเด็น และทำให้คนอ่านเข้าใจในบริบทที่เราต้องการสื่อสารนั้นไม่ใช่เรื่องหมูๆ จึงจำเป็นต้องใช้การสั่งสมด้วยการอ่านบทความ หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ และฝึกฝนการเขียนของเราให้สม่ำเสมอ วันนี้ Life on Campus จึงนำเทคนิคการเขียนเรียงความเพื่อเป็นเคล็ดลับดีๆ ให้กับน้องๆ ที่ต้องการฝึกฝนงานเขียนให้ถูกใจกรรมการโกยคะแนนการเขียนได้สบายๆ..
      
       โครงสร้างของการเขียน Essay ประกอบด้วย 3 ส่วน
      
       Introduction : ย่อหน้าแรกของ Essay ที่ใช้ในการเปิดเรื่อง หรือเป็นส่วนแรกของเรียงความที่จะบอกให้ผู้อ่านทราบเบื้องต้นว่าเรียงความนี้กล่าวถึงเรื่องอะไร มักจะไม่ใส่รายละเอียดมากนัก Introduction ที่ดีควรจะดึงดูดใจให้ผู้อ่านเกิดความสนใจและทำให้เกิดความรู้สึกอยากรู้ว่าเนื้อหาต่อไปนั้นจะเป็นยังไง เรียกง่ายๆ ว่าทำให้ผู้อ่านอยากอ่าน Essay ของเราจนจบ สำหรับภายใน Introduction จะมี Thesis Statement ซึ่งเป็นประโยคสำคัญที่บอกให้ผู้อ่านทราบว่า Essay เรื่องนี้ต้องการจะกล่าวถึงอะไร
       Body : ส่วนของเนื้อความ เป็นส่วนที่รวมเนื้อหา ใจความสำคัญของเรียงความไว้ โดยจะเป็นส่วนที่ยาวที่สุดของเรียงความ โดยตัวเนื้อความสามารถเขียนได้หลายย่อหน้า ขึ้นอยู่กับข้อมูลเพิ่มเติมที่เราต้องการขยายความหรือยกตัวอย่างให้ผู้อ่านเข้าใจ
       Conclusion : บทสรุป เป็นการทบทวนและย้ำให้ผู้อ่านทราบว่าผู้เขียนต้องการสื่อสารอะไรให้ผู้อ่าน หรือเป็นการสรุปสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดให้ผู้อ่านทราบ โดยเนื้อหาเน้นรวบรวมใจความสำคัญจาก Introduction และ Body ที่ได้กล่าวมาแล้ว
โกยคะแนนพิชิตใจกรรมการ!! เทคนิคการเขียน Essay อย่างง่ายและรวดเร็ว
       
        สำหรับส่วนของเนื้อความหรือ Body จะมีหน้าที่หลักๆ คือการให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้อ่าน เพื่อให้เกิดความเข้าใจหรือคล้อยตามกับเรียงความของเรามากขึ้น โดยจะประกอบด้วย 3 ส่วนย่อยคือ Topic Sentence, Supporting sentences และ Concluding sentences
      
       - Topic Sentence อยู่ส่วนแรกของของแต่ละ Body ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านทราบว่าเนื้อความย่อหน้านี้จะกล่าวถึงคือเรื่องอะไร
       - Supporting sentences ทำหน้าที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือขยายความจาก Topic sentence รวมถึงการยกตัวอย่าง เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้น
       - Concluding sentences เป็นการสรุปย้ำใจความสำคัญของย่อหน้าให้ผู้อ่านทราบอีกครั้ง
      
        สำหรับเทคนิคง่ายๆ ในการเขียน Topic sentence ที่ดีคือ ควรจะเขียนให้เป็น Simple sentence หรือประโยคความเดียว เพราะจะช่วยให้ประโยคมีความชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีข้อควรระวังในการเขียน Essay ที่ Life on Campus นำมาให้น้องๆ ได้อ่านกันเป็นข้อมูลในการเขียนเพื่อจะได้ไม่เกิดข้อผิดพลาดทำให้เราโดนหักคะแนนได้ง่ายๆ นั้นเอง..
โกยคะแนนพิชิตใจกรรมการ!! เทคนิคการเขียน Essay อย่างง่ายและรวดเร็ว
       
       เขียนบทนำให้ดึงดูด อย่าสรุปทั้งหมดไว้ตั้งแต่เริ่ม!
      
        ในการอ่าน Essay คณะกรรมการมักจะใช้เวลาเพียงแค่ 1-2 นาทีเท่านั้น ดังนั้นบทนำของที่น้องๆ เขียนควรจะดึงดูดความสนใจของผู้อ่านตั้งแต่เริ่มต้น และไม่ใช่เรื่องแปลกหากจะแก้บทนำใหม่หมดภายหลังจากที่เราเริ่มเขียนเนื้อหาของ Essay ที่สำคัญคืออย่าเขียนสรุปเนื้อหาทั้งหมดในบทนำ เพราะเท่ากับเป็นการเฉลยเนื้อหาไว้ตั้งแต่เริ่ม ทำให้ผู้อ่านไม่อยากอ่านเนื้อหาต่อๆ ไป หรือไม่มีความอยากรู้ที่จะติดตามตอนต่อไปนั้นเอง
      
        รวมไปถึงคณะกรรมการเองก็เช่นกัน หากการเขียนบทนำของน้องๆ คือการสรุปทั้งหมด คณะกรรมการก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องอ่านเนื้อเรื่องที่เหลือของ Essay จึงควรสร้างความแปลกใจหรือสร้างความรู้สึกอยากติดตามชวนให้อ่านไว้ในบทนำ ด้วยการตั้งคำถามหรือประเด็นให้คณะกรรมการหรือผู้อ่านสนใจอ่าน Essay ของเราต่อไป รวมถึงทำให้ผู้อ่านรู้สึกคล้อยตามอารมณ์ความรู้สึกที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อสารด้วย
      
       
       เช็คหลักไวยากรณ์ให้ดีก่อนส่ง!
      
        เชื่อเถอะว่าชาวเอเชียส่วนใหญ่หรือแม้กระทั่งเด็กไทยมีความแม่นในการจำหลักไวยากรณ์อยู่แล้ว เรียกว่าโครงสร้างเป๊ะ ถาม Tenses ไหนตอบได้หมด หรืออาจเก่งแกรมม่ามากกว่าเจ้าของภาษาเสียอีก ดังนั้นการทำข้อสอบการเขียนสิ่งสำคัญหลักๆ คือการเขียนให้ถูกหลักไวยากรณ์ ผู้เขียนคนใดสามารถจดจำโครงสร้างและเข้าใจการใช้ได้ถูกต้องย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง
       
        Life on Campus จึงมีเทคนิคการตรวจสอบแกรมม่าที่เราเขียนใน Essay เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด นั้นคือการอ่านย้อนหลังจากประโยคสุดท้ายไล่ขึ้นไปถึงประโยคแรก เพื่อให้เราได้ตรวจสอบให้ดีทีละส่วน ทีละคำ ทีละประโยค เพื่อหาจุดผิดพลาดนั้นเอง เพราะผู้เขียนส่วนใหญ่หากอ่านประโยคแรกไล่ลงมาปกติแล้วมักคิดว่างานเขียนของเรายอดเยี่ยม แต่หากลองปรับ
โกยคะแนนพิชิตใจกรรมการ!! เทคนิคการเขียน Essay อย่างง่ายและรวดเร็ว
       
       ใช้ศัพท์ยาก..ไม่เข้ากับเนื้อหา
      
        สำหรับใครที่ชอบใช้งัดคำศัพท์ยากๆ งัดคำศัพท์สวยๆ อลังการมาใช้ในงานเขียน เพราะคิดว่ายิ่งใช้คำศัพท์ยากยิ่งแสดงให้เห็นถึงความเก่งและรู้สึกเหนือกว่าคนอื่นๆ แต่น้องๆ รู้หรือไม่ว่าการใช้คำศัพท์เหล่านั้นในการเขียนเรียงความ หรือใช้ในการเขียนโปรยบทนำให้ดูสวยหรู มันไม่ได้ทำให้เราได้เปรียบเสมอไป เพราะหากน้องๆ ไม่มั่นใจว่าความหมายคืออะไร หรือไม่มั่นใจว่าจะเรียบเรียงอย่างไรในการเขียนประโยค อาจทำให้เนื้อหาที่จะสื่อสารกับผู้อ่านนั้นผิดเพี้ยนและอาจทำให้โดนหักคะแนนได้
      
        สำหรับเทคนิคการฝึกเขียน น้องๆ สามารถหัดเขียนด้วยตัวเองด้วยการตั้งหัวข้อที่อยากเขียนขึ้นมาสักหนึ่งหัวข้อ หรืออาจให้อาจารย์ที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยมอบหัวข้อให้ลองฝึกเขียน เมื่อน้องๆ ลองเขียน Essay เสร็จนำไปให้อาจารย์ตรวจงานเขียนดู เพื่อจะได้คำแนะนำในการเขียน หรือหากพบจุดผิดพลาดใดๆ อาจารย์ก็สามารถช่วยเหลือและให้คำปรึกษากับเราได้ ถือเป็นการเพิ่มทักษะการเขียนของเราไปในตัวด้วย
      
       ลืมใส่แหล่งที่มา-แหล่งอ้างอิง
      
        ความจริงแล้วการเขียนเรียงความทางวิชาการไม่เหมือนกับการเขียนบล็อกหรือโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ค หากน้องๆ อ้างอิงถึงแต่สิ่งที่เพื่อนพูด หรือเขียนคำคมขึ้นมาลอยๆ อาจลดคุณค่าและความน่าเชื่อถือของเรียงความที่เขียนไปเลยก็ว่าได้ ยิ่งไปกว่านั้นการคัดลอกผลงานโดยไม่อ้างอิงถึงแหล่งที่มาให้ถูกต้องเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ
        ดังนั้นน้องๆ ต้องเรียนรู้ถึงวิธีการอ้างอิงแหล่งที่มาให้ถูกต้อง เป็นทักษะที่ต้องมีและต้องทำ ซึ่งสามารถปรึกษาและขอคำแนะนำจากอาจารย์ที่สอนภาษาอังกฤษ เรียนรู้จากเพื่อนร่วมชั้น หรือไม่ก็อ่านเรียงความทางวิชาการเยอะๆ ก็สามารถช่วยเพิ่มพูนทักษะนี้ได้เช่นกัน
โกยคะแนนพิชิตใจกรรมการ!! เทคนิคการเขียน Essay อย่างง่ายและรวดเร็ว
       
        อ้างอิงข้อมูลจาก
       - http://www.usnews.com/education/
       - http://www.ieltsbuddy.com/ielts-essay.html
       - http://grammar.yourdictionary.com/writing/how-to-write-an-essay.html
       - http://www.torcheducation.com/?p=1567
       - http://www.englishparks.in.th/index.php?option=com_content&view=article&id=146:-essay&catid=19:english-tip&Itemid=51






วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558




การประเมิน วิเคราะห์และสังเคราะห์สารสนเทศ


ขั้นตอน การประเมิน วิเคราะห์ สังเคราะห์สารสนเทศ

การประเมินสารสนเทศ
เป็นขั้นตอนในการประเมินเพื่อคัดเลือกสารสนเทศที่เราได้จากการสืบค้นที่มีคุณค่า  มีความน่าเชื่อถือในทางวิชาการ เป็นการพิจารณาคัดเลือกจากแหล่งสารสนเทศต่างๆ ทั้งจากห้องสมุด อินเทอร์เน็ต เป็นต้น สารสนเทศที่ไม่ใช้ เช่น เป็นสารสนเทศที่ไม่ตรงกับความต้องการ, เนื้อหาสารสนเทศล้าสมัย หรือ สารสนเทศนั้นไม่มีความน่าเชื่อถือในทางวิชาการ จากการประเมินสารสนเทศจะทำให้เราได้สารสนเทศที่มีคุณค่าและนำสารสนเทศไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม                  

หลักการประเมินสารสนเทศ                                                                                    
  1. ประเมินความตรงกับความต้องการสารสนเทศ 
       พิจารณาว่าเป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการสารสนเทศของเราหรือไม่ ตรงมากน้อยเพียงใด โดยเลือกเรื่องที่ตรงกับความต้องการ ตัดทิ้งเรื่องที่ไม่ตรงกับความต้องการ 
       วิธีการ คือ การอ่านเบื้องต้น ได้แก่ 
      การอ่านชื่อเรื่อง คำนำ  หน้าสารบัญ หรือเนื้อเรื่องย่อๆ  เพื่อพิจารณาว่ามีความสอดคล้องกับความต้องการสารสนเทศหรือไม่ 
      ซึ่งส่วนใหญ่ ชื่อเรื่องของสารสนเทศก็อาจจะสามารถประเมินได้ทันทีว่า ตรงหรือไม่ตรง เนื่องจาก คำสำคัญเป็นคำเดียวกันกับความต้องการสารสนเทศและชื่อเรื่องของสารสนเทศ แต่หากชื่อเรื่องไม่บ่งชัดว่ามีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันอาจต้องพิจารณาจาก คำนำ สารบัญ และเนื้อหาโดยย่อ

      2. ประเมินความน่าเชื่อถือและความทันสมัยของสารสนเทศ
         พิจารณาว่าเป็นสารสนเทศที่มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ น่าเชื่อถือเพียงไร ซึ่งการประเมินความน่าเชื่อถือมีรายละเอียดที่ควรพิจารณา ได้แก่
          2.1 ประเมินความน่าเชื่อถือของ แหล่งสารสนเทศ โดยพิจารณาว่าสารสนเทศนั้นได้มาจากแหล่งสารสนเทศใด โดยส่วนใหญ่ แหล่งสารสนเทศที่น่าเชื่อถือนั้นจะเป็นแหล่งสารสนเทศสถาบัน เช่น ห้องสมุด เนื่องจากสารสนเทศที่อยู่ในห้องสมุดได้ผ่านกระบวนการกลั่นกรองเนื้อหาจากบรรณารักษ์และผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่วนแหล่งสารสนเทศอินเทอร์เน็ต จะมีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าหรือไม่มีความน่าเชื่อเลย คือ การรับรู้สารสนเทศจากอินเทอร์เน็ตนั้นเราต้องใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองเนื้อหาเองว่าเนื้อหาจากเว็บไซต์ใดที่น่าเชื่อถือ
          2.2 ประเมินความน่าเชื่อถือของ ทรัพยากรสารสนเทศ โดยพิจารณาว่า ทรัพยากรสารสนเทศหรือสารสนเทศนั้นๆ เป็นรูปแบบใด lสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อไม่ตีพิมพ์ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หากเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นสิ่งพิมพ์ประเภทใด หนังสือทั่วไป หนังสืออ้างอิง วารสาร นิตยสาร เป็นต้น 
          2.3 ประเมินความน่าเชื่อถือของ ผู้เขียน ผู้จัดทำ สำนักพิมพ์ โดยพิจารณาว่า ผู้เขียนมีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ ตรงหรือสอดคล้องกับเรื่องที่เขียนหรือไม่ รวมทั้งความน่าเชื่อถือผู้จัดทำ สำนักพิมพ์ที่มีประสบการณ์ในเนื้อหาเฉพาะด้าน มักจะมีความน่าเชื่อถือในแวดวงวิชาการนั้นๆ หน่วยงานผู้รับผิดชอบเป็นภาครัฐบาล องค์กร สมาคม มักจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าหน่วยงานภาคเอกชนหรือบุคคล 
               ตัวอย่าง เช่น กรณีที่เป็นบทความวิชาการ ให้พิจารณาว่า ตีพิมพ์ในวารสารที่มีชื่อวารสารที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวิชานั้นๆ มีชื่อเสียงในทางวิชาการ เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายหรือไม่ ผู้เขียน/ผู้จัดทำ/สำนักพิมพ์มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ และต้องมีความต่อเนื่องในการเผยแพร่
         2.4 ประเมินความทันสมัยของสารสนเทศ โดยหากเป็นสื่อสิ่งพิมพ์พิจารณาความทันสมัย จาก วัน เดือน ปี ที่พิมพ์ หากเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พิจารณาจาก วัน เดือน ปีที่เผยแพร่ เป็นต้น
      3. ประเมินระดับเนื้อหาของสารสนเทศ  ซึ่งระดับเนื้อหาสารสนเทศมี 3 ระดับ ได้แก่
   1. สารสนเทศปฐมภูมิ (Primary Information) มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เนื่องจากเป็นสารสนเทศที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าโดยตรงของผู้เขียนและตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก เช่น ต้นฉบับตัวเขียน จดหมายส่วนตัว รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ สิ่งพิมพ์รัฐบาล สารสนเทศประเภทนี้ถือว่ามีความน่าเชื่อถือควรนำมาอ้างอิงมากที่สุด เพราะเป็นข้อมูลจริงที่ได้จากผู้เขียน และยังไม่ได้ผ่านการเรียบเรียงหรือปรับแต่งใหม่จากบุคคลอื่น
 2. สารสนเทศทุติยภูมิ (Secondary Information) เป็นการนำสารสนเทศปฐมภูมิมาเขียนใหม่ อธิบาย เรียบเรียง วิจารณ์ใหม่ให้เข้าใจง่ายเพื่อให้เหมาะกับผู้ใช้สารสนเทศ หรือเป็นเครื่องมือช่วยค้นหรือติดตามสารสนเทศปฐมภูมิ เช่น หนังสือ บทความวารสาร บทคัดย่องานวิจัย บทวิจารณ์หนังสือ เป็นต้น
 3. สารสนเทศตติยภูมิ (Tertiary Information) เป็นการชี้แนะแหล่งสารสนเทศ ระดับแรก ที่ไม่ได้ให้เนื้อหาสารสนเทศโดยตรงแต่เป็นการชี้แนะแหล่งสารสนเทศปฐมภูมิและทุติยภูมิ เช่น บรรณานุกรม ดรรชนีวารสารและวารสารสาระสังเขป

การวิเคราะห์สารสนเทศ
เป็นการแยกแยะสารสนเทศที่ผ่านการประเมินแล้วว่าตรงตามความต้องการ โดยวิธีการแยกแยะสารสนเทศตามหัวข้อ หรือ ประเด็นย่อยๆ สรุปเนื้อหา
       วิธีการในการวิเคราะห์สารสนเทศคือการรับรู้ การอ่านเนื้อหาของทรัพยากรสารสนเทศที่ผ่านการประเมินแล้วว่า สามารถนำมาใช้งานได้จริงๆ จากนั้นดึงเนื้อหาของสารสนเทศที่สอดคล้องกับประเด็นแนวคิดต่างๆ ที่เราต้องการศึกษา และมีความครบถ้วน แล้วทำการบันทึกเนื้อหาโดยบันทึกเรื่องเดียวกันเอาไว้ด้วยกัน และสุดท้ายคือจัดกลุ่มตามประเด็นแนวคิดเพื่อใช้ในการเรียบเรียงเนื้อหาของรายงานต่อไป

การสังเคราะห์สารสนเทศ
       เป็นการตีความสารสนเทศจากหลากหลายทรัพยากรสารสนเทศ ที่มีเนื้อหาเดียวกัน คล้ายคลึงกัน หรือเกี่ยวข้องกัน แล้วนำมาสรุปให้เป็นประเด็นเดียว หรือ คำตอบเพียงคำตอบเดียว
วิธีการคือการจัดกลุ่มสารสนเทศที่มีแนวคิดเดียวกัน เอาไว้ด้วยกัน แล้วนำสารสนเทศที่มีแนวคิดเดียวกันมาจัดกลุ่มอีกครั้ง เพื่อสร้างความสัมพันธ์ ตามลำดับชั้น จากนั้นนำแนวคิดต่างๆ ที่เราได้สร้างความสัมพันธ์ในแต่ละกลุ่มของแนวคิด มารวบรวมเป็นโครงสร้างใหม่ ในรูปของโครงร่าง หรือ Outline โดยรวบรวมหัวข้อหรือประเด็นที่เหมือนกันไว้ด้วยกัน หรือตัดที่ซ้ำซ้อนออก เรียงลำดับขั้นตอนของหัวข้อหรือประเด็น
       สุดท้ายคือการประเมินโครงร่าง ที่ได้ทำขึ้น ว่าตอบคำถามในงานของเราได้ครบถ้วนหรือไม่ หากไม่ครบถ้วน ก็ต้องกลับไปเริ่มที่กระบวนการสืบค้นใหม่

    เนื้อหาในบทเรียนนี้ ครอบคลุมถึงความหมายและประเภท  สถาบันที่ให้บริการสารสนเทศ  และบริการสารสนเทศแบบต่าง ๆ ที่สถาบันสารสนเทศแต่ละประเภทจัดให้บริการ  รวมทั้งแนะนำสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา  เพื่อให้นักศึกษาได้ทำความเข้าใจถึงลักษณะและบริการของสถาบันสารสนเทศประเภทต่าง ๆ      รวมทั้งการให้บริการของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เพื่อจะได้ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าสารสนเทศต่อไป
ความหมายและประเภท   
        แหล่งสารสนเทศ (information sources) หมายถึง  แหล่งที่มา  แหล่งผลิต แหล่งเผยแพร่และให้บริการสารสนเทศ  ซึ่งอาจเป็นบุคคล  สื่อมวลชน และสถาบันบริการสารสนเทศ   แหล่งสารสนเทศแยกประเภทตามที่มาและลำดับการผลิต  แบ่งได้เป็น  3  ประเภทคือ
         1. สารสนเทศปฐมภูมิ (primary sources)  หมายถึง  สารสนเทศที่เรียบเรียงขึ้นจากประสบการณ์ของผู้เขียน หรือเป็น ผลการค้นคว้าวิจัย  นำเสนอความรู้ใหม่ ๆ  ได้แก่  รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์  เอกสารการปฏิบัติงาน  รายงานการประชุมทางวิชาการ   บทความวารสารวิชาการ   เอกสารสิทธิบัตร   เอกสารมาตรฐาน  เอกสารจดหมายเหตุ


        2. สารสนเทศทุติยภูมิ (secondary sources) หมายถึง  สารสนเทศที่ได้จากการนำสารสนเทศปฐมภูมิมาสังเคราะห์และเรียบเรียงขึ้นใหม่  เพื่อเสนอข้อคิดหรือแนวโน้มบางประการ  ได้แก่  หนังสือทั่วไป  หนังสือตำรา  หนังสือคู่มือการทำงาน   รายงานความก้าวหน้าทางวิทยาการ  บทคัดย่องานวิจัย บทวิจารณ์หนังสือ  วารสารสาระสังเขป เป็นต้น


         3. สารสนเทศตติยภูมิ (tertiary sources) หมายถึง สารสนเทศที่ชี้แนะแหล่งที่อยู่ของสารสนเทศปฐมภูมิและทุติยภูมิ  จะให้ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสารสนเทศ  ได้แก่หนังสือนามานุกรม  บรรณานุกรม  และดัชนีวารสาร เป็นต้น
แหล่งสารสนเทศมีความสำคัญต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูล  ในการอ้างอิงทางวิชาการถือว่าสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมิเป็นสารสนเทศที่ดี  มีความน่าเชื่อถือในเรื่องความถูกต้องตามข้อเท็จจริงมากกว่าสารสนเทศทุติยภูมิและสารสนเทศตติยภูมิ
                                                        


บริการสารสนเทศ   
      หมายถึงองค์การที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ให้บริการสารสนเทศตามความต้องของผู้ใช้  ซึ่งจำแนกได้หลายประเภทตามขอบเขต   หน้าที่และวัตถุประสงค์  ได้แก่ (ชุติมา  สัจจานันท์,  2531)
          1. ห้องสมุดหรือหอสมุด  (library)ห้องสมุดเป็นแหล่งสะสมทรัพยากรสารสนเทศทั้งที่เป็นวัสดุตีสิ่งพิมพ์และวัสดุไม่ตีพิมพ์   มีบริการครอบคลุมหลายด้าน  แต่ส่วนใหญ่เน้นบริการด้านการอ่าน  บริการยืม – คืน  และบริการช่วยการค้นคว้า      ห้องสมุดจำแนกตามวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายในการจัดตั้ง แบ่งได้เป็น  5  ประเภทได้แก่

         1.1 ห้องสมุดโรงเรียน (school library)  จัดตั้งขึ้นในโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา  เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านวิชาการ  อำนวยความสะดวกด้านการศึกษาค้นคว้าของนักเรียน   และจัดบริการสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการสอนของครูอาจารย์  ห้องสมุดโรงเรียนบางแห่งได้รับการจัดให้เป็นศูนย์สื่อการศึกษานอกเหนือจากการบริการด้านสื่อสิ่งพิมพ์
          1.2 ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา (academic library)   เน้นการให้บริการสารสนเทศครอบคลุมทุกสาขาวิชาที่มหาวิทยาลัยหรือสถาบันต้นสังกัดเปิดทำการสอน   เพื่อสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าวิจัยของนักศึกษาและอาจารย์   ในปัจจุบันห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาใช้ชื่อเรียกต่างกันไปเช่น    สำนักหอสมุด   สำนักบรรณสาร   สำนักวิทยบริการ   ศูนย์บรรณสาร  และศูนย์สื่อการศึกษา  เป็นต้น
       1.3 ห้องสมุดเฉพาะ (special library)  เน้นให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสถาบันต้นสังกัด   มักสังกัดอยู่กับสมาคม  หน่วยงานทางวิชาการ หรือสถาบันทางวิชาการเฉพาะด้าน  เช่น  ห้องสมุดธนาคาร   ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์  ห้องสมุดสมาคมวิชาชีพ เป็นต้น
           1.4 ห้องสมุดประชาชน (public library)    เป็นห้องสมุดที่รัฐให้การสนับสนุน  จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นแหล่งสารสนเทศของชุมชน  ให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปทุกระดับอายุและระดับการศึกษา  ทรัพยากรสารสนเทศและกิจกรรมที่จัดขึ้นมุ่งที่ประโยชน์ของประชาชน  ห้องสมุดประชาชนมีให้บริการทุกจังหวัดทั่วประเทศ
       1.5 หอสมุดแห่งชาติ (national library)  เป็นแหล่งเก็บรวบรวมและบำรุงรักษาทรัพยากรสารสนเทศของชาติ ทั้งที่เป็นหนังสือต้นฉบับตัวเขียน  เอกสารโบราณและจารึก  สื่อสิ่งพิมพ์  สื่อโสตทัศนวัสดุ  สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ผลิตขึ้นในประเทศและต่างประเทศ   ให้บริการการอ่าน   ศึกษาค้นคว้าและวิจัยแก่ประชาชนเพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาตามอัธยาศัย
หอสมุดแห่งชาติทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานระบบสารนิเทศทางวิชาการแห่งชาติได้แก่   ศูนย์ข้อมูลวารสารระหว่างชาติแห่งประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้    ศูนย์กำหนดเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number – ISBN)  และเลขมาตรฐานสากลประจำวารสาร (International Standard Serial Number – ISSN)   ศูนย์กำหนดรายละเอียดทางบรรณานุกรมของหนังสือที่จัดพิมพ์ในประเทศ    ศูนย์กลางแลกเปลี่ยนและยืมสิ่งพิมพ์ในระดับชาติและนานาชาติศูนย์รวบรวมสิ่งพิมพ์ขององค์กรสหประชาชาติและจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติ   หอสมุดแห่งชาติปัจจุบันตั้งอยู่ที่ท่าวาสุกรี ถนนสามเสน เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร  สังกัดกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม   และมีสาขาให้บริการในต่างจังหวัด เช่น
ภาคกลาง ได้แก่ หอสมุดแห่งชาติเขตลาดกระบัง เฉลิมพระเกียรติ  หอสมุดแห่งชาติอินทร์บุรี สิงห์บุรี  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกกาญจนบุรี และหอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรีเฉลิมพระเกียรติ 

ภาคเหนือ  ได้แก่  หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษกเชียงใหม่   และหอสมุดแห่งชาติลำพูน


                                                                               

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่   หอสมุดแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ ร.9 นครราชสีมา   หอสมุดแห่งชาติประโคนชัย จ.บุรีรัมย์   และหอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ นครพนม ภาคตะวันออก   ได้แก่ หอสมุดแห่งชาติ ชลบุรี     และหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก จันทบุรี
ภาคใต้ ได้แก่หอสมุดแห่งชาตินครศรีธรรมราช หอสมุดแห่งชาติกาญจนาภิเษกสงขลา  หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถสงขลา   หอสมุดแห่งชาติวัดดอนรัก จ.สงขลา   หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถตรัง  และหอสมุดแห่งชาติวัดเจริญสมณกิจภูเก็ต
           

         2. ศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสาร  (information center or documentation center)
ศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสารเป็นหน่วยงานให้บริการสารสนเทศเฉพาะด้าน   แก่ผู้ใช้เฉพาะกลุ่มสาขาวิชาหรือสาขาวิชาชีพ  เช่น  นักวิทยาศาสตร์  นักวิจัย  มีลักษณะคล้ายห้องสมุดเฉพาะ     ให้ข้อมูลที่จัดทำขึ้นโดยศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสารนั้น เช่น ข้อมูลสถิติ  ตัวเลข  รายงานการวิจัย  สาระสังเขปและดัชนี วารสารเฉพาะวิชา    ศูนย์นี้โดยทั่วไปมักแบ่งงานออกเป็น  3  ฝ่าย  ได้แก่  ฝ่ายห้องสมุด  ฝ่ายการเอกสาร  และฝ่ายพิมพ์
ตัวอย่างของศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสารได้แก่  ศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทย  (ศบอ.)    ศูนย์บริการสารสนเทศทางเทคโนโลยี (Technical Information Access Center : TIAC)  สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ศูนย์บริการเอกสารการวิจัยแห่งประเทศไทยให้บริการสารสนเทศแก่นักวิจัย  ผลิตสื่อและเผยแพร่ผลงานวิจัยและเทคโนโลยีไทย ในรูปของสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์   ประสานงานและร่วมมือกับหอสมุด สถานศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ   และให้บริการค้นคว้าทำสำเนารายงาน FAO (Food and Agriculture Organization) ของ สหประชาชาติ ที่ ศบอ.เป็นตัวแทนรับฝากในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2509

            3. ศูนย์ข้อมูล  (data center)
ศูนย์ข้อมูลทำหน้าที่รับผิดชอบการผลิตหรือรวบรวมข้อมูล ตัวเลข  จัดระบบและเผยแพร่สู่ผู้ใช้ที่อยู่ในเป้าหมาย  มักเป็นส่วนหนึ่งของสถาบัน  เช่น  ศูนย์ข้อมูลธนาคารกรุงเทพ     ศูนย์ข้อมูลธุรกิจหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   ศูนย์ข้อมูลพลังงานแห่งประเทศไทย  สังกัดสำนักงานพลังงานแห่งชาติ  เป็นต้น
             4. หน่วยงานทะเบียนสถิติ  (statistical office)
หน่วยทะเบียนสถิติเป็นศูนย์กลางรวบรวมหลักฐานการจดทะเบียนหรือ         ลงทะเบียน  และรวบรวมสถิติที่เกี่ยวข้อง    อาจเป็นหน่วยงานที่สังกัดอยู่ในกระทรวง ทบวง กรม เพื่อรวบรวมสถิติเฉพาะภายในหน่วยงาน เช่น หน่วยเวชระเบียนของโรงพยาบาลต่าง ๆ    กองการทะเบียนของกรมการปกครอง    ศูนย์สถิติการพาณิชย์ของ กระทรวงพาณิชย์    และสำนักงานสถิติแห่งชาติ  เป็นต้น


                                                       

     

         5. ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  (information analysis center)ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา  โดยนำมาคัดเลือก   วิเคราะห์    สรุปย่อและจัดเก็บในลักษณะของแฟ้มข้อมูล  ใบข้อมูล  (sheet)  และปริทัศน์ (review)  เพื่อใช้ในการตอบคำถามและจัดส่งให้กับผู้ที่สนใจในรูปของบริการข่าวสารทันสมัย      เนื่องจากกระบวนการทำงานของศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  ต้องมีการวิเคราะห์และประเมินสารสนเทศ  ผู้ปฏิบัติงานนี้จึงต้องมีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน ส่วนใหญ่จึงมักประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์  และนักวิชาการ  ตัวอย่างของ ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ  เช่น สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นต้น
6. ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ (information clearing house)ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ  แนะนำแหล่งสารสนเทศ (referral service)  ที่เหมาะสม  หรือทำหน้าที่เป็นหน่วยงานรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศแล้วแจกจ่ายไปยังผู้ที่ต้องการ   โดยการจัดทำสหบัตรรายการค้น บรรณานุกรม  ดัชนีและสาระสังเขป   และรายชื่อเอกสารที่ศูนย์ทำหน้าที่ประสานการแจกจ่าย  ได้แก่  ห้องสมุดยูเนสโก   หอสมุดแห่งชาติประเทศอังกฤษ  (British Library)  หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress)   และหอสมุดแห่งชาติของไทย  เป็นต้น
สำหรับประเทศไทยมีศูนย์ประสานงานเครือข่ายระบบสารนิเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสังคมศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค  มีสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเป็นหน่วยประสานงาน     โดยยูเนสโก (UNESCO) เป็นผู้จัดตั้งข่ายงานทั้งสองในระดับภูมิภาคเรียกว่า ASTINFO  และ APINESS
“ASTINFO” ย่อมาจาก Regional Network for the Exchange of Information and Experiences in  Science and Technology in Asia and Pacific มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า “ข่ายงานภูมิภาคเพื่อการแลกเปลี่ยนสารนิเทศและประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคพื้นเอเซียและแปซิฟิค”  ประกอบด้วยสมาชิก 12 ประเทศ คือ ศรีลังกา อินเดีย ฟิลิปปินส์ อิหร่าน จีน เกาหลี เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์  เนปาล และประเทศไทย จัดตั้งเครือข่ายงานขึ้นเมื่อปี 2527 โดยมีสถาบันที่เข้าร่วมโครงการ  6 ศูนย์ คือ สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักหอสมุดเกษตรศาสตร์   สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหิดล   กองหอสมุดแห่งชาติ ศูนย์บริการเอกสารการวิจัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
“APINESS” ย่อมาจาก Asia-Pacific Information Network in Social Sciences มีชื่อเป็นภาษาไทยว่า  ข่ายงานสารนิเทศด้านสังคมศาสตร์ระดับภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิค มีสมาชิก 17 ประเทศ โดย 12 ประเทศจาก   ASTINFO จัดตั้งข่ายงานขึ้นเมื่อปี 2531 โดย ประกอบด้วยศูนย์สมทบทั้ง 6 ของ ASTINFO และหน่วยงานอื่นอีก 4 แห่ง คือ ห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย,สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และหอสมุดจอห์น เอฟ เคเนดี้   มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ทั้งสองข่ายงานข้างต้น  มีภารกิจในการให้บริการข้อสนเทศทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสังคมศาสตร์ในข่ายงานฯ  พิจารณาขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศเพื่อปรับปรุงโครงสร้างขององค์กรในข่ายงานฯ จัดดำเนินการฝึกอบรมและสัมมนาระบบสารนิเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสังคมศาสตร์   จัดดำเนินการในเรื่องอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย   เช่นจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)   องค์การอนามัยโลก (WHO) และยูเนสโก ที่เกี่ยวกับ ASTINFO และ APINESS
7. ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ  (referral centers)
ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ  ทำหน้าที่รวบรวมแหล่งข้อมูลและแหล่งสารสนเทศ  โดยจัดทำเป็นคู่มือ   หรือรายการบรรณานุกรมและดัชนี  เพื่อให้คำแนะนำแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่เหมาะสมตามที่ผู้ใช้ต้องการ  ส่วนใหญ่จะแนะแหล่งสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา  เช่น ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน    ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศสิ่งแวดล้อมนานาชาติ  เป็นต้น  (ศรีสุภา  นาคธน, 2548)
8. หน่วยงานจดหมายเหตุ  (archive)
หน่วยงานจดหมายเหตุ  ทำหน้าที่รวบรวมและอนุรักษ์เอกสารราชการ  และเอกสารทางประวัติศาสตร์ ได้แก่  คำสั่ง ระเบียบ  ข้อบังคับ  บันทึก  หนังสือโต้ตอบ  รายงาน  แผนที่  ภาพถ่าย  แบบแปลน  เพื่อเป็นหลักฐานการดำเนินงานของรัฐและหน่วยงานเอกชน    ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าอ้างอิงทั้งเพื่อการปฏิบัติงานและค้นคว้าทางวิชาการ  ตัวอย่างเช่นหอจดหมายเหตุแห่งชาติ   หอจดหมายเหตุส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น  หอจดหมายเหตุของสถาบันทางศาสนา  หอจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัย  และหอจดหมายเหตุของสถาบันธุรกิจและอุตสาหกรรม  เป็นต้น
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ   มีฐานะเป็นสำนักหนึ่งในกรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรม     จัดตั้งเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2495   มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บและบำรุงรักษาเอกสารทางราชการที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ที่มีอายุเกิน 25 ปี และรูปถ่ายไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้า     ให้บริการค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุประเภทต่าง ๆ เช่น เอกสารโต้ตอบของส่วนราชการ   เอกสารส่วนบุคคล   เอกสารประวัติศาสตร์ร่วมสมัยทั้งที่เป็นเอกสารประเภทลายลักษณ์และประเภทไมโครฟิล์มรวม    ทั้งบริการเอกสารประเภทโสตทัศนจดหมายเหตุ เช่น   ภาพถ่าย   แผนที่   แผนผัง   แบบแปลน    สไลด์   ซีดี   แถบบันทึกเสียง เป็นต้น
ปัจจุบันหอจดหมายเหตุแห่งชาติตั้งอยู่ด้านหลังอาคารหอสมุดแห่งชาติ  ที่ท่าวาสุกรี    ถนนสามเสน   เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร    และมีหอจดหมายเหตุแห่งชาติสาขาในต่างจังหวัด  ได้แก่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่จังหวัดเชียงใหม่  ตรัง  ยะลา  และสงขลา    หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พะเยา และอุบลราชธานี    หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี   หอจดหมายเหตุแห่งชาติ จังหวัดจันทบุรี    หอจดหมายเหตุนายกรัฐมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ จังหวัดนครศรีธรรมราช   หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี    หอเกียรติยศ ฯพณฯ บรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี คนที่ ๒๑ จังหวัดสุพรรณบุรี
9. สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์  (commercial information service center)
สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ให้บริการสารสนเทศโดยคิดค่าบริการ สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์มีหลายรูปแบบได้แก่
 ศูนย์บริการสารสนเทศทันสมัย (current awareness services) ให้บริการเลือกสรรสารสนเทศเฉพาะบุคคล  (selective dissemination of information service : SDI)   โดยจัดส่งรายการทางบรรณานุกรม   ดรรชนีและสาระสังเขปให้สมาชิกหรือผู้ใช้บริการได้ตรวจสอบ    ส่วนการเข้าถึงตัวเอกสาร   จำเป็นต้องพึ่งพาห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ   ความสำเร็จของศูนย์บริการสารสนเทศทันสมัยจึงอยู่ที่การมีห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศที่ดีสนับสนุนอยู่เบื้องหลังด้วย
สำนักงานติดต่อและให้คำปรึกษาทางสารสนเทศ  (extension services–liason and advisory)  ให้คำปรึกษาด้านการใช้สารสนเทศในสาขาเกษตร   อุตสาหกรรมและกิจการบริการสาธารณะอื่น ๆ   หรือแนะนำแหล่งที่จะให้ความช่วยเหลือในการดำเนินกิจการบริการนี้จึงมักเชื่อมโยงกับทางอุตสาหกรรมเป็นหลัก

10.   เครือข่ายบริการสารสนเทศ (information services network) 
เครือข่ายบริการสารสนเทศเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของกลุ่มสถาบันบริการสารสนเทศ  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านการบริการทางบรรณานุกรม  ได้แก่  การทำบัตรรายการ  การพัฒนาทรัพยากร  การยืมระหว่างห้องสมุด  และการบริการฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  เช่น เครือข่ายยูนิเน็ต (UniNet)


                                                          


เครือข่ายยูนิเน็ตจัดดำเนินการโดยสำนักงานบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา  ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา  มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน  ได้ดำเนินโครงการพัฒนาเครือข่ายห้องสมุดมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ที่มีชื่อย่อว่า “ThaiLIS” (Thai Library Integrated System)   โดยเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยและสถาบันจำนวน 24 แห่ง   ให้สามารถใช้งานผ่านเครือข่ายยูนิเน็ต    มีสารสนเทศที่ให้บริการในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้
ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรม  (union catalog)  เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในห้องสมุดมหาวิทยาลัยและสถาบัน 24 แห่ง   ปัจจุบันมีข้อมูลบรรณานุกรมจำนวนกว่า 2 ล้านระเบียน  เข้าใช้บริการได้ที่เว็บไซต์ 

 http://uc.thailis.or.th  

ฐานข้อมูลจัดเก็บเอกสารฉบับเต็ม  (digital collection)  เป็นฐานข้อมูลที่จัดเก็บและแสดงเอกสารฉบับเต็ม (full text)  พร้อมภาพ  ให้บริการข้อมูลวิทยานิพนธ์  งานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย  และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยกว่า 70 แห่ง  ปัจจุบันมีเอกสารอิเล็กทรอนิกส์  จำนวนกว่า  50,000 รายการ  เข้าใช้บริการได้ที่เว็บไซต์   http://dcms.thailis.or.th/index.php  


                                                           


ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้น (reference database)  เป็นบริการสืบค้นข้อมูลออนไลน์ต่างประเทศ จำนวน 7 ฐานได้แก่     Science Direct,  IEEE/IEE Electronic Library (IEL),  ProQuest Dissertations,  ACM Digital Library,  Lixis.com and Nexis.com,  H.W.Wilson,  ISI Web of Science


ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์(e-Book)

ให้บริการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ลิขสิทธิ์ของ  SpringerLink จำนวน  1,528  รายการ  เข้าใช้บริการได้ที่
URL : http://ebook.SpringerLink.com



                                                                                 
งานบริการสารสนเทศ
     สถาบันสารสนเทศเน้นให้บริการสารสนเทศแตกต่างกันไปตามหน้าที่และวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง    ซึ่งพอจะสรุปบริการที่จัดให้โดยทั่วไปได้ดังนี้
    1. บริการการอ่าน    เป็นบริการที่สถาบันบริการสารสนเทศจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศในระบบชั้นเปิดและจัดที่นั่งสำหรับอ่านค้นคว้าได้โดยอิสระตามความสนใจของแต่ละบุคคล   พร้อมทั้งจัดทำเครื่องมือช่วยค้นซึ่งอาจจะเป็นบัตรรายการหรือรายการในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศได้โดยสะดวก
  2. บริการบรรณานุกรมและสาระสังเขป  เป็นบริการรวบรวมรายการทรัพยากรสารสนเทศที่มีบริการอยู่ในสถาบัน  หรืออาจรวบรวมเฉพาะเรื่องที่มีผู้สนใจ  หรือรวบรวมตามระยะเวลาที่จัดหาทรัพยากรสารสนเทศใหม่ ๆ  เพื่ออำนวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า  เช่น  การทำบัตรรายการ  การทำดัชนีวารสาร  บริการโอแพค (OPAC) ของห้องสมุด  และ การจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติประจำปี ของหอสมุดแห่งชาติ  เป็นต้น
   3. บริการให้ยืมทรัพยากรสารสนเทศ  เป็นบริการให้ยืมทรัพยากรสารสนเทศออกไปใช้ภายนอกสถาบัน  โดยผู้ใช้บริการจะต้องสมัครเป็นสมาชิกและปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของสถาบันบริการสารสนเทศ
  4. บริการยืมระหว่างห้องสมุดหรือสถาบัน  เป็นบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกแก่สมาชิกที่ต้องการยืมทรัพยากรสารสนเทศจากสถาบันอื่น โดยสถาบันต้นสังกัดของสมาชิกช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่อประสาน  ซึ่งผู้ใช้บริการต้องเสียค่าใช้จ่ายบางส่วน เช่น ค่าถ่ายเอกสาร  ค่าขนส่ง เป็นต้น
   5. บริการจองหนังสือหรือบริการหนังสือสำรอง  เป็นบริการที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศที่มีอยู่อย่างจำกัด  แต่มีผู้สนใจต้องการใช้จำนวนมาก  สถาบันบริการสารสนเทศอาจให้บริการจองหนังสือล่วงหน้า  หรืออาจจัดบริการหนังสือสำรองไว้ในสถาบันโดยไม่ให้ยืมออกนอกสถาบันในช่วงระยะเวลาหนึ่ง  เพื่อให้ได้ใช้บริการอย่างทั่วถึงทุกคน
   6. บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า   เป็นบริการให้คำแนะนำและช่วยเหลือผู้ใช้บริการในการค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ ที่มีในสถาบัน และแหล่งสารสนเทศอื่น ๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้ใช้ต้องการ 
    7. บริการแนะนำแหล่งสารสนเทศ  เป็นบริการแนะนำแหล่งหรือสถาบันบริการสารสนเทศ  วิธีการใช้  วิธีการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ  เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้เข้าถึงแหล่งจัดเก็บไว้  ได้อย่างรวดเร็ว  และใช้ประโยชน์ในแหล่งสารสนเทศนั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
   8. บริการเผยแพร่สารสนเทศและนิทรรศการ  เป็นบริการเผยแพร่สารสนเทศในโอกาสพิเศษต่าง ๆ   เพื่อชักชวนให้เกิดความสนใจการอ่าน และการศึกษาค้นคว้าต่อเนื่อง เช่น การจัดนิทรรศการ  การจัดประชุมอภิปรายทางวิชาการ  การจัดทำจุลสาร วารสารวิชาการ เป็นต้น
   9. บริการข่าวสารทันสมัย  เป็นบริการรวบรวม  คัดเลือกและเผยแพร่สารสนเทศใหม่ ๆ แก่สมาชิกหรือผู้ใช้บริการ  เช่น การทำสำเนาบทความจากวารสาร  การทำบรรณานุกรมและสาระสังเขปแล้วส่งให้ผู้ใช้บริการ เป็นต้น
   10. บริการถ่ายสำเนาและพิมพ์ผลการค้นข้อมูล  เป็นบริการถ่ายสำเนาเอกสารไปใช้ประโยชน์  เช่น   บริการถ่ายเอกสาร    บริการพิมพ์ผลการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลออนไลน์  อินเทอร์เน็ต  หรือแฟ้มข้อมูล
 11. บริการอินเทอร์เน็ต เป็นการให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  เพื่อให้ผู้ค้นคว้าได้ใช้บริการต่าง ๆ เช่น  การสืบค้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  การสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์  และการใช้บริการจดหมายอีเล็กทรอนิกส์ (e –mail)   เป็นต้น

 สรุป  
       แหล่งสารสนเทศ หมายถึงแหล่งที่ให้บริการสารสนเทศ  ซึ่งอาจเป็นบุคคล  สื่อมวลชน และสถาบันบริการสารสนเทศ   ประเภทแหล่งสารสนเทศแบ่งตามลำดับการผลิตได้เป็น  3  ประเภทคือ   สารสนเทศปฐมภูมิ สารสนเทศทุติยภูมิ  สารสนเทศตติยภูมิ ในการอ้างอิงทางวิชาการถือว่าสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมิเป็นสารสนเทศที่ดี  มีความน่าเชื่อถือในเรื่องความถูกต้องตามข้อเท็จจริงมากกว่าสารสนเทศในลำดับรอง
สถาบันบริการสารสนเทศ  ให้บริการสารสนเทศแตกต่างกันตามขอบเขต   หน้าที่และวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง มีหลายประเภทได้แก่ ห้องสมุดหรือหอสมุดจะเน้นจัดเก็บและจัดบริการผู้ใช้ด้านการอ่านและการยืมสารสนเทศ    ศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสารจะเน้นให้บริการสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา ทำการผลิตและเผยแพร่สารสนเทศใหม่ ๆ   ศูนย์ข้อมูลจะเน้นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นข้อมูลสถิติ ตัวเลข และการเผยแพร่ข้อมูลแก่สมาชิก   หน่วยงานทะเบียนสถิติเป็นศูนย์กลางรวบรวมหลักฐานการจดทะเบียนและสถิติที่เกี่ยวข้อง    ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศให้บริการข่าวสารทันสมัยเฉพาะสาขาวิชาในลักษณะของแฟ้มข้อมูล  บทความปริทัศน์  และจัดส่งให้สมาชิกที่สนใจ   ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศจะเน้นบริการความช่วยเหลือในการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ  หน่วยงานจดหมายเหตุเน้นให้บริการเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ทั้งที่เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการและส่วนบุคคล  ภาพถ่าย  แผนที่ ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีสถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ที่ให้บริการโดยคิดค่าบริการ  ซึ่งให้บริการในหลายรูปแบบ เช่น ศูนย์บริการสารสนเทศทันสมัย (current awareness services)      สำนักงานติดต่อและให้คำปรึกษาทางสารสนเทศ   ศูนย์บริการสาระสังเขปและดรรชนี เป็นต้น
ในปัจจุบัน สถาบันหลายแห่งได้ร่วมกันเป็นเครือข่ายบริการสารสนเทศ โดยเน้นการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน   เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน  และให้บริการผ่านทางอินเทอร์เน็ต เช่น เครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS) 
บริการสารสนเทศ  ที่สถาบันบริการสารสนเทศจัดให้โดยทั่วไป ได้แก่ บริการการอ่าน  บริการบรรณานุกรมและสาระสังเขป  บริการยืมทรัพยากร  บริการยืมระหว่างสถาบัน    บริการจองหนังสือ  บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า   บริการแนะนำแหล่งสารสนเทศ  บริการเผยแพร่สารสนเทศและนิทรรศการ  บริการข่าวสารทันสมัย  บริการถ่ายสำเนาและพิมพ์ผลการค้นข้อมูล   บริการอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
       สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ     มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เป็นห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาที่ให้บริการสารสนเทศเช่นเดียวกับสถาบันบริการสารสนเทศทั่วไป  แต่มีระเบียบข้อกำหนดที่นักศึกษาและผู้ใช้บริการต้องปฏิบัติเป็นการเฉพาะ  ดังนั้นผู้ใช้บริการควรทำความเข้าใจก่อนเข้าใช้บริการ
                                                       

เอกสารอ้างอิง
คู่มือการใช้บริการสำนักวิทยบริการ.  (2547).  พระนครศรีอยุธยา : สำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ชุติมา  สัจจานันท์.  (2531).  การเลือกและการจัดหาวัสดุห้องสมุด.  กรุงเทพฯ :
หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู. 
ศรีสุภา  นาคธน.  (2548).  สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์และการค้นคืน.  ลพบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
 https://tanoo.wordpress.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-2%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8/